วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้ 1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น 2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น 4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น องค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล 3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว 4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ 5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส โทรสาร (Facsimile หรือ Fax) เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา วอยซ์เมล (Voice Mail) เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย กรุ๊ปแวร์(groupware) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT) ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID) เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ชนิดของสัญญาณข้อมูล 1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ 2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal) สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem) โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) 2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) 3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) ตัวกลางการสื่อสาร 1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้ - สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว - สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น - แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ - สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ - ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล - การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล 1. ราคา 2. ความเร็ว 3. ระยะทาง 4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น 5. ความปลอดภัยของข้อมูล มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols) 1. บลูทูธ (Bluetooth) 2. ไวไฟ (Wi-Fi) 3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX) ให้นักเรียนตอบคำถามและแสดงความเห็นในประเด็นต่อไปนี้ (คะแนน 10 คะแนน )เขียนตัวบรรจง 1.นักเรียนคิดว่าการสื่อข้อมูล ในปัจจุบันมีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร 2.การสื่อสารข้อมูลต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานและเกี่ยวข้องกับข่าวสารประเภทใด 3.การสื่อสารข้อมูลมีรูปแบบ/ทิศทางการสื่อสารอย่างไร มีอุปกรณ์เครื่องมือใด 4.นักเรียนคิดว่าการสื่อสารข้อมูลมีโทษอย่างไร 5.บลูทูธ (Bluetooth) ไวไฟ(WiFi) ไว-แมกซ์ (Wi-max) มีลักษณะอย่างไรมีวิะการใช้อย่างไร ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/53181

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) หมายถึง โปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ระบบปฏิบัติการ (operating system หรือ OS) 2. ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator) ระบบปฏิบัติการ (operating system : OS) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่อง เช่น จัดสรรหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยรับและแสดงผล เป็นต้น ตลอดจนควบคุมการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ชนิดของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการที่มีในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตามจำนวนของงาน (Task) และจำนวนผู้ใช้งาน (User) ดังต่อไปนี้ 1. ระบบปฏิบัติการชนิด Single-task/Single-user เป็นระบบที่ง่ายที่สุด กล่าวคือ มีผู้ใช้เพียงคนเดียว และผู้ใช้สามารถทำงานได้เพียงครั้งละ 1 งาน เช่นระบบปฏิบัติการ MS-Dos 2. ระบบปฏิบัติการชนิด Multi-task/Single-user เป็นระบบที่ยังคงมีผู้ใช้เพียงคนเดียวอยู่ แต่ผู้ใช้สามารถทำงานได้ครั้งละหลายงาน เช่น ระบบปฏิบัติการ MS-Windows 3.11, 95, 98 3. ระบบปฏิบัติการชนิด Multi-task/Multi-user เป็นระบบปฏิบัติการ ที่สามารถมีผู้ใช้งานได้หลายคน และสามารถทำงานได้ครั้งละหลายงานพร้อมกัน ระบบประเภทนี้จึงมีกลไกในการป้องกัน ไม่ให้ผู้ใช้ทำงานก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Unix, MS-Windows NT, 2000, XP, Vista และ Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Linux Linux ถือกำเนิดโดย ลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เป็นซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส ใช้งานได้ฟรีมีลักษณะส่วนติดต่อกับผู้ใช้สองแบบ ทั้ง Command line และ GUI มีลักษณะการใช้งานแบบ Multi task/Multi user ในปัจจุบันมีลีนุกส์หลายค่าย เช่น Redhat, Slackware, Debian, LinuxTLE, Burapha Linux, Ubuntu Command line เป็นการใช้งานโดยการพิมพ์คำสั่งลงไป ฉนั้นผู้ใช้งานต้องจำคำสั่งการใช้งานให้ได้ GUI ย่อมาจาก Graphic User Interface เป็นการใช้งานโดยลักษณะการโต้ตอบแบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Apple เป็นบริษัทคู่แข่งกับ Microsoft เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทนี้จะถูกเรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Macintosh) Mac OS X (แมคโอเอสเท็น) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบ GUI และมีลักษณะการใช้งานแบบ Multi task/Multi user Mac OS X เริ่มพัฒนาขึ้นจากระบบปฏิบัติการ UNIX โดยระบบปฏิบัติการนี้ จะเน้นที่การสร้างมัลติมีเดีย สิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง วีดีโอ ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator) ทำหน้าที่แปลต้นฉบับโปรแกรม (Source Code) ซึ่งเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจนั่นเอง คำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้นมา อาจเขียนด้วย C, C++, Pascal เป็นต้น ภาษาเครื่องจะมีลักษณะเป็นเลขฐานสอง ตัวอย่างเช่น 01110100 ที่มา http://krooyuth.utd1.net/?p=90

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น 2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage) เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data) เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit) อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage) จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk ) ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks) floppy disk ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม ศึกษาเพิ่มเติม แรม (Ram) รอม (Rom) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) จานแสง (Optical Disk) ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/prakopmemory.html

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) บุคลากร (Peopleware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล 1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล 3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หน่วยความจำภายใน - หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ - หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่ 2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้ แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ขนาด 5.25 นิ้ว ขนาด 1.44 MB หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ 8 Bit 1 Byte 1 Byte 1 ตัวอักษร 1 KB 1,024 Byte 1 MB 1,024 KB 1 GB 1,024 MB 1 TB 1,024 GB หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์ ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ 1. ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) 2. ขนาด 3.5 นิ้ว ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป Hard disk Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps ) ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี คุณสมบัติดังนี้ เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์) มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้ CD - ROM 3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer) ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น ที่มา http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบของตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ แป้นพิมพ์ จอภาพ เคส CPU ฮาร์ดดิสก์ ลำโพง เครื่องพิมพ์ 2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบพื้นฐานที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกัคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ Dos ระบบปฏิบัติการ Window ระบบปฏิบัติการ linux ระบบปฏิบัติการ Unix 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่ายมาก เช่น โปรแกรม Microsoft Office โปรแกรม Adobe Photoshop CS2 โปรแกรม Nod 32โปรแกรม Win amp 3. บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานและสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการแบ่งออกได้ 4 ระดับ 1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 4. ผู้ใช้ (User) 4. ข้อมูล (Data) หมายถึง ความเป็นจริงที่เป็นข้อมูลดิบ เช่น ตัวเลข, ตัวอักษร, เสียง, ภาพ, ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลใดๆ มาก่อน และถ้าข้อมูลได้รับการประมวลผลให้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือและอยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะเรียกว่า สารสนเทศ (Information) ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/krumeaw/wordpress/?p=513

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer) แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer ปัจจุบันโน้ตบุ๊กถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ Desktop replacement เดสก์ทอปรีเพลสเมนต์: โน้ตบุ๊กประเภทนี้ มีน้ำหนักประมาณ 3-4.5 กิโลกรัม จอภาพมักจะใหญ่กว่าประเภทอื่นๆ มีทั้งที่เป็นแบบสุดหรูฟีเจอร์ครบเครื่อง ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท สำหรับคนมีงบประมาณเหลือเฟือ และแบบประหยัด ราคาเริ่มที่ 40,000 บาท สำหรับคนที่อยากได้โน้ตบุ๊กราคาสบายกระเป๋าสตางค์มาไว้ในครอบครอง Mainstream เมนสตรีม: โน้ตบุ๊กแบบนี้เหมาะกับนักธุรกิจหรือคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานพอสมควร น้ำหนักประมาณ 1.8-3 กิโลกรัม ราคาประมาณ 48,000-100,000 บาท Ultraportable อัลตร้าพอร์เทเบิล: กลุ่มนี้เน้นความบาง เบา และดีไซน์เฉียบหรูเป็นหลัก น้ำหนักประมาณ 1-1.8 กิโลกรัม ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่นักธุรกิจที่เน้นเรื่องความสะดวกสบายในการพกพาเป็นหลัก สำหรับสเปกเครื่องควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน และอยู่ในงบประมาณที่กำหนด มีขั้นตอนดังนี้ กำหนดสเปกให้ตรงกับความต้องการของคุณ ส่วนประกอบหลักๆที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ Processor, Chipset, Graphic Controller และ LCD รองลงมาได้แก่ Memory และ Harddisk ส่วนพิจารณาหลังสุดได้แก่ Optical Drive, Keyboard, Pointing Device รวมไปถึง I/O Port ต่างๆ เลือกโน้ตบุ๊กรุ่นที่มีส่วนประกอบซึ่งคุณให้ความสำคัญอยู่ครบมากที่สุด และอย่าพยายามนำส่วนประกอบที่คุณคิดว่า อาจจะต้องการสำหรับใช้ในอนาคตมามีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อมากนัก เลือกตามการใช้งาน เช่น ใช้งานเชิงธุรกิจ, ใช้งานแทนพีซีตั้งโต๊ะหรือเพื่อความบันเทิง ซึ่งรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันไป ใช้งานทั่วไป ทำงานเอกสาร ใช้โปรแกรมออฟฟิศทั้งหลาย เพียงแค่ซีพียูระดับเกือบๆ 1 กิกะเฮิรตช์ แรมประมาณ 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 20 กิกะไบต์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าจะให้ดีควรมีอาร์ดดิสก์ 30 กิกะไบต์ขึ้นไป ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ด้วยโน้ตบุ๊ก ซึ่งการใช้งานประเภทความบันเทิงนั้นสเปกจะต้องสูงสักหน่อย ซีพียู เพนเทียมโฟร์ โมบาย แรมอย่างน้อย 512 เมกะไบต์ เพราะประสิทธิภาพต่างกับเครื่องที่ใช้แรม 256 เมกะไบต์อย่างเห็นได้ชัด ฮาร์ดิสก์ที่แนะนำคือ 40 กิกะไบต์ขึ้นไป และยังต้องเน้นเรื่องระบบกราฟฟิก ควรใช้ชิปกราฟฟิกแยกต่างๆหากมีหน่วยความจำสำหรับแสดงผลโดยเฉพาะ และเพื่อความสมบูรณ์ในการดูหนังผ่านดีวีดีควรเลือกจอแบบ Wide Screen ซึ่งจะให้ภาพเต็มจอมากกว่า ใช้งานนอกสถานที่ ควรเน้นที่ความบาง และเบาเป็นพิเศษ และหากต้องการเชื่อมต่อแบบไร้สาย สิ่งแรกที่ต้องมีคือระบบ Wi-Fi ควรมองหาโน๊ตบุ้กที่สนับสนุนเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน 802.11g เพราะนอกจากจะใหม่และเร็วกว่าแล้ว ยังสามารถทำงานร่วมกับมาตรฐาน 802.11b ที่ใช้ทั่วไปในที่สาธารณะได้ด้วย และอาจจะต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อรอบรับการใช้งานตามต้องการ (หากต้องเดินทางบ่อยๆ แนะนำให้ซื้อแบตเตอรี่สำรองไว้อีกหนึ่งอัน เผื่อคุณต้องใช้มันในกรณีฉุกเฉินเวลาไม่สามารถเสียบไฟตรงได้ และถ้าไม่อยากเก็บอะแดปเตอร์ไปๆมาๆเวลาเดินทาง ก็ซื้ออีกอันไว้สำหรับเดินทางโดยเฉพาะเลยก็ได้) ตกแต่งภาพ งานกราฟิก ซีพียู เพนเทียมโฟร์ ไฮเปอร์เธรดดิง แรมขั้นต่ำ 256 เมกะไบต์ ระบบกราฟิกสำหรับแสดงผลสามมิติ จอภาพ 15-17 นิ้ว เลือกเครื่องที่มีไดรฟืบันทึกซีดีหรือดีวีดี และหากเป็นดีวีดีไรเตอร์ ควรเลือกที่เขียนแผ่นได้หลายๆแบบ ทั้ง DVD-R และ DVD+R ถ้าโน๊ตบุ้กของคุณมีอุปกรณืต่อพ่วงอื่นๆเป็นจำนวนมาก ลองหันมาใช้พวกด็อกกิงสเตชันหรือพอร์เรพพลิเคเตอร์ดู อย่างน้อยเวลาต้องการย้ายดน๊ตบุ้กไปไหน คุณก็ไม่ต้องมานั่งเสียบสายเข้าๆออกๆอีกต่อไป และถ้าต้องซื้อโน้ตบุ๊กมือสอง อยากได้ของถูกๆ...นอกจากจะต้องเช็กอุปกรณ์ให้ครบถ้วนแล้ว อย่าลืมว่าการรับประกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่ขาดไม่ได้เลย ขั้นสุดท้าย เมื่อได้สเปกเรียบร้อยก็นำมาตรวจสอบกันหลายๆรุ่น หลายๆยี่ห้อ และควรเปรียบเทียบราคาด้วย รวมถึงดูในเรื่องของวัสุดที่ใช้ทำ, ของแถม และการรับประกันว่ามีกี่ปี และนอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมาแล้วว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ใช้แล้วมีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า รวมถึงบริการหลังการขาย และจำนวนศูนย์บริการที่มีด้วย เมื่อได้ข้อสรุป ตกลงซื้อเป็นที่เรียบร้อย ก่อนจะรับโน้ตบุ๊ก ควรจะพิจารณาให้ละเอียดดังนี้ ตรวจสอบสเปกของเครื่องให้ตรงกับที่ตกลงกันเอาไว้ก่อนซื้อ เปิดเครื่องให้ทำงาน แล้วลองใช้งานส่วนต่างๆดูว่าปกติหรือไม่ ตรวจสอบหา Dead Pixel บนหน้าจอ โดยเข้าสู่ Dos Mode ให้หน้าจอเป็นสีดำ แล้วมองหาจุดสีที่ผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ยังควรปรับเปลี่ยนสีแบ็กกราวนด์เป็นสีต่างๆเพื่อตรวจสอบ และควรสอบถามถึงเงื่อนไขในส่วนของ Dead Pixel ว่าถ้าเกิดกี่จุดถึงจะเคลมได้ ตรวจสอบการเปิด-ปิดฝาพับให้ดีว่ามีอาการหลวมหรือไม่ ลองตรวจสอบระบบเสียงด้วยการเปิดเพลงฟัง และควรลองเสียบหูฟังและใช้ไมโครโฟนด้วย ตรวจสอบการใช้งานพอร์ตต่างๆ ด้วยการลองเชื่อมต่ออุปกรณ์ ลองใช้งานไดร์ฟที่ติดตั้งมาให้ว่า สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้อง หากเป็นซีดีอาร์ดับบลิวหรือคอมโบไดร์ฟ ลองทดสอบการเขียนแผ่นและอ่านแผ่นให้ดีด้วย ตรวจสอบไฟแสดงสถานะต่างๆว่าทำงานปกติหรือไม่ ตรวจสอบปุ่มคีย์บอร์ด ให้ลองพิมพ์ทุกๆตัวอักษร ลองเสียบปลั๊กใช้งาน และลองถอดปลั๊กเพื่อใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ตรวจสอบซอฟต์แวร์ต่างๆที่ติดตั้งมาให้ว่าครบตามที่แจ้งไว้หรือไม่ ตรวจสอบแผ่นซีดีไดรเวอร์ต่างๆ โดยเฉพาะ Recovery CD ที่ควรจะมีให้ ตรวจสอบคู่มือการใช้งาน ใบรับประกัน ของแถมต่างๆ ให้ครบตามเงื่อนไข ตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน และสอบถามเรื่องการนำเครื่องเข้าศูนย์บริการ เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งโน้ตบุ๊กบางยี่ห้อจะสามารถซื้อประกันเพิ่มได้อีกด้วย การใช้งานโน๊ตบุ๊กในออฟฟิศ หรือตามบ้าน มักจะมีฝุ่นละอองมาติดอยู่ตามซอกมุมต่างๆโดยเฉพาะ ส่วนของคีย์บอร์ดที่จะมีปัญหาในการทำความสะอาดมากที่สุด สำหรับโดยรอบๆตัวเครื่อง ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าแล้วบิดให้หมาดๆ เช็ดไปรอบๆตัวเครื่อง ไม่ควรใช้สารเคมีมาทำความสะอาดนอกจากจะเป็นน้ำยาสำหรับทำความสะอาดโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ สำหรับที่ตัวคีย์บอร์ดส่วนใหญ่มักจะใช้ปากเป่าไล่ฝุ่นละออง ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก วิธีการที่ดีที่สุดคือ การใช้เครื่องดุดฝุ่น ดูดเอาฝุ่นละอองออกมา นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มระหว่างการใช้งาน เพราะอาจจะหกรดไปบนตัวเครื่อง ทำให้เกิดความเสียหายได้ และทำให้โน้ตบุ๊กสกปรกอีกด้วย ในการใช้งานปกติคุณควรจะระมัดระวังเรื่องของการกระแทกเอาไว้ด้วย เพราะโน้ตบุ๊กปกติจะสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่มากนัก หากโดนกระแทกแรงๆก็อาจจะไปกระทบกระเทือนอุปกรณ์ภายในได้ และเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายโน้ตบุ๊กควรนำใส่กระเป๋าที่ออกแบบมาใช้กับโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ นอกจากจะช่วยลดแรงกระแทกแล้วยังช่วยป้องกันน้ำได้ระดับหนึ่งอีกด้วย แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก ภาพ Apple iPad ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel" ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง PDA คืออะไร PDA (Personal Digital Assistant) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก, เก็บข้อมูล, เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้เหมาะสมกับความต้องการยิ่งขึ้น เช่น ดูเวลารอบโลก, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ดูหนังสือพิมพ์ออนไลน์, บันทึกรายรับรายจ่าย แม้แต่ในเรื่องของมัลติมีเดียและเอนเตอร์เทน เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, หรือ เล่นเกมส์ ก็สามารถรวมเข้าไปอยู่ในเจ้าอุปกรณ์เล็กๆนี้ได้เช่นกัน PDA นั้นยังแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่อง PDA นั้นๆ ซึ่งหลักๆที่เรารู้จักกันก็จะมี PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC นั่นเอง Palm ทำอะไรได้บ้าง คำถามนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอสำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มใช้งานเจ้าอุปกรณ์ประเภทนี้ ในเบื้องต้นนั้น Palm สามารถทำงานในลักษณะของ Organizer อย่างเช่นการจดบันทึก, นัดหมาย, บันทึกที่อยู่ รวมไปถึงการใช้งานในลักษณะของโปรแกรม Office และยังก้าวข้ามไปถึงการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสาขาอาชีพหรือความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้อีกด้วย ที่นี้เพื่อความชัดเจน เราจะมาดูความสามารถและประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก Palm เป็นข้อๆกันเลยครับ 1. สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารและจัดการตารางเวลาในชีวิตประจำวันของเรา อย่างเช่น การบันทึกนัดหมายหรือวันสำคัญต่างๆเป็นต้น 2. จดบันทึกข้อมูลราบชื่อของผู้ที่เราจะติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ และยังสามารถจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการค้นหารายชื่อได้อีกด้วย 3. บันทึกข้อความส่วนตัวหรือข้อความทั่วๆไปในโปรแกรมสมุดบันทึก 4. บันทึกข้อความเสียงหรือบทสนทนาเพื่อที่จะนำมาเปิดฟังในภายหลังได้ (ระบบ Voice Memo นี้จะสนับสนุนเฉพาะบางรุ่น) 5. ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้ตรงความต้องการในการใช้งานของแต่ละบุคคลได้ 6. สามารถใช้งานโปรแกรม Office อย่างเช่น Microsoft Word หรือ Excel ได้ใกล้เคียงกันกับในคอมพิวเตอร์ 7. สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยน, โอนถ่าย หรือจัดเก็บข้อมูลได้ 8. สามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ PDA หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อแลกเปลี่ยน, โอนถ่าย หรือจัดเก็บข้อมูลได้ 9. ใช้การเชื่อมโยงได้หลายลักษณะ เช่น การใช้สาย Cable และการเชื่อต่อแบบไร้สายอย่าง Infrared, Wi-Fi หรือ Bluetooth 10. สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อดูข้อมูลในเว็บไซต์หรือรับ-ส่งอีเมล์ได้อย่างง่ายดาย 11. สามารถใช้ งานร่วมกับเครื่อง GPS หรือเครื่องนำทางระบบดาวเทียมได้ 12. ใช้ในลักษณะของความบันเทิงอย่างเช่น การดูหนัง, ฟังเพลง และเล่นเกมส์ได้ 13. บันทึกภาพถ่ายในเหตุการณ์สำคัญๆที่เราอยากจะเก็บไว้ด้วยความสามารถของกล้องดิจิตอลที่ติดมากับตัวเครื่อง (ระบบ Digital Camera นี้จะสนับสนุนเฉพาะบางรุ่น) 14. เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมภายนอกอย่างเช่น คีย์บอร์ด, โมเด็ม, กล้องดิจิตอล และอื่นๆอีกมากมาย 15. เพิ่มเติมหน่วยความจำด้วยการ์ดหน่วยความจำภายนอกอย่างเช่น SD, MMC และ Memory Stick ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงความสามารถโดยรวมของ Palm เท่านั้น จากนี้ไปเราก็จะนำมาประยุกต์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของเรา และสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ Smart Phone Smart Phone คืออะไร Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้สำหรับ Smart Phone - หูฟัง Bluetooth - หูฟังแบบไร้สาย ที่อาศัยเทคโนโลยี Bluetooth ในการสื่อสาร โดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเอรา ปกติจะสามารถใช้งานในระยะประมาณ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของ Bluetooth - แป้นพิมพ์ - Keyboard - ช่วยให้เกิดความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมล - จอยสติ๊ก JoyStick - สำหรับเล่นเกมส์บนมือถือ เพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น - อื่นๆ อีกมากมาย PDA Phone, Palm Phone คืออะไร การนำ PDA หรือ Pocket PC มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์ ส่วน Palm Phone ก็คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์ โทรศัพท์แบบ Smart PhoneDopod 838 PDA Phone - HTC Smart Phone - Motorola A1000 - Nokia 6680 - O2 XDA II - Samsung i600 - Sony Ericsson P800, P900 ด้วยการทำงานของ Smart Phone ที่มีความหลายหลาย และใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปได้ ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดตามมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ นั่นคือ ไวรัส ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับไวรัสคอมพิวเตอร์ คงต้องชั่งใจ สักนิด ก่อนเลือกซื้อ ที่มา https://sites.google.com/site/namchompoonuch/team-schedules

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี 3G •เทคโนโลยี 3G คือ 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง แล ะ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว ยุค 2.5G การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ - ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS – General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE - (Enhanced Data Rate for GSM Evolution) เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ - ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference, Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปี 2549 นี้ เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว ที่มา http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/3g/what%203g.html

บริการต่างๆของ Google

บริการต่างๆ ของ Google หลังจากที่เราได้รู้จักกับประวัติของ Google กันไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวของบริการต่าง ๆ ที่ตอนนี้ Google ได้เปิดให้บริการแบบออนไลน์อย่างมากมาย นอกเหนือไปจากระบบดัชนีค้นหาหรือว่า Search Engines ซึ่งเป็นธุรกิจแรกเริ่มเดิมทีของ Google ปี 1998 สัญญาณของความสำเร็จ ปี 1999 เงินทุนก้อนใหญ่มาแล้ว ปี 2000 ปีแห่งการสยายปีกของ Google ปี 2001 การแตกไลน์ด้านการบริการครั้งสำคัญ ปี 2002 สานต่อเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับโมเลกุล ปี 2003 ปีแห่งการพลิกโฉมใหม่ให้กับวงการโฆษณา ปี 2004 การประกาศศักดาของ Gmail และโปรแกรม Picasa ปี 2005 กับการมาของ Google Earth ปี 2006 ปีแห่งการเข้าสู่ระบบวิดีโอออนไลน์ ประวัติโดยย่อของ Sergey Brin ประวัติโดยย่อของ Larry Page บริการต่างๆ ของ Google บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) บริการในกลุ่ม Google Services บริการในกลุ่ม Google Tools บริการสำหรับคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ (website owner) บริการสำหรับกลุ่มธุรกิจองค์กร (Enterprise Solutions) ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/google/12.html

FTp (file transfer protocol)

FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป 2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน ความสำคัญของ FTP โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง ที่มา http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2147-ftp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

E-mail

อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้ ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ .com = commercial บริการด้านการค้า .edu = education สถานศึกษา .org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร .gov = government หน่วยงานรัฐบาล .net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย ตัวอย่าง e-mail address stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th ที่มา https://sites.google.com/site/stdcas/xinthexrnet/ximel-hmay-thung-xari

Game Online กับการศึกษา

เกมส์เพื่อการศึกษา เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราคงได้ยินข่าวการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2548 ให้กับ 2 นักเศรษฐศาสตร์ คือ Thomas Schelling และ Robert Aumann ซึ่งเป็นผู้นำ Game Theory มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพของความขัดแย้ง และความร่วมมือ ความสัมพันธ์ขององค์กร ความรู้ที่ได้ไม่ใช่ใช้เฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ความรู้ที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางสังคมวิทยาด้านต่างๆ ได้อีกด้วย ก่อนหน้านี้ในปี 1994 ได้มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ให้กับ John Nash , John Harsanyi และ Reinhart Selten ที่ได้ศึกษาเรื่องของ Game Theory (ถ้ายังจำได้มีการสร้างภาพยนตร์ชีวิตของ John Nash เรื่อง A Beautiful Mind) ข่าวที่ปรากฏออกมาเรื่องของ Game Theory ทำให้ผู้เขียนคิดถึงการใช้ Game Theory เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา ซึ่งการใช้ Game Theory เพื่อการศึกษานั้นมีการศึกษากันมานานแล้ว แต่การใช้ Game Theory กับการศึกษามีความแตกต่างจากการใช้ในสาขาอื่นๆ ตรงที่วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการใช้ Game Theory เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นไม่ใช่ใช้เฉพาะ Game Theory แล้วผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ แต่จำเป็นต้องมีการใช้หลายๆ ทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการรับรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นต้น นั้นหมายความว่าก่อนการใช้เกมใดๆ ในการเรียนการสอนจำเป็นต้องผ่านการออกแบบลักษณะของเกมโดยยึดตามหลักทฤษฎี ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกมเพื่อการศึกษาจะต่างกับเกมในท้องตลาดทั่วไปตรงเกมในท้องตลาดที่วัตถุ ประสงค์หลักเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่เกมการศึกษาเน้นส่วนของการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นเกมการศึกษาจึงเป็นเกมที่มีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนและใช้เวลามากใน การสร้างและพัฒนา เพื่อที่จะสามารถสร้างสภาพของเกมตามหลักของ Game Theory และสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ ปัจจุบันมีการสร้างเกมเพื่อการศึกษามากขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกันคือ การนำเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียน เรียนนำเข้าไปแทรกในเกมต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนได้เล่นเกมโดยเชื่อว่าความรู้หรือเนื้อหานั้นจะส่งผ่านไปยัง ผู้เรียนได้ จนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ในที่สุด โดยใช้เกมที่มีรูปแบบเดียวกันใช้สอนเนื้อหาที่ต่างกันเพื่อความง่ายในการ สร้างและสะดวก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารูปแบบเกมแบบเดียว สามารถใช้กับเนื้อหาที่แตกต่างกันได้จริงหรือ ได้มีผู้ศึกษาลักษณะของเกม โดยแบ่งจุดประสงค์ของการเรียนรู้กับรูปแบบเกมที่เหมาะสม ดังนี้ (เกมคอมพิวเตอร์) จุดประสงค์การเรียน ลักษณะของเกม รูปแบบเกม 1. ความจำ ความคงทนในการจำ ชุดของเนื้อหาและแบบประเมิน เกมแบบฝึกหัด,Quiz, เกม Puzzle ต่างๆ 2. ทักษะ การกระทำ มีเรื่องของสถานการณ์และการกระทำ การเลียนแบบ ผลป้อนกลับและมีตัวแปรด้านเวลา เกม Simulation ต่างๆ เช่น เกมยิง, เกมขับรถ เป็นต้น 3. ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่างๆ กฎและขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติ มีเงื่อนไขในการกระทำ เช่น เกมกีฬา,action 4. ตัดสินใจ การแก้ปัญหา เกมแบบเป็นเรื่องราว สามารถแสดงผลการกระทำได้ในทันที Real Time เกมวางแผน, เกมผจญภัย, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา) 5. การอยู่ร่วมกับสังคม เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร การเล่าเรื่องแล้วมีทางเลือก เกมวางแผน, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา)

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น 1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา 1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 1.3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตามใบสางสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม 1.3.4 ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ 1.3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง 1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีกรเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร 1.3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง ตัวอย่างซอฟแวร์การเกิดแผ่นดินไหว 1.3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบแช่งขันให้กับองค์กร ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์ เช่น การให้บริการชำระค่าสินค้าบริการ การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือครอบครัวโดยการหาผลประโยขน์จากการใช้เทคโนโลยีต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น 1. หาข้อมูลเกี่ยวกับพืชสวน 2. หาข้อมูลทำรายงาน 3. เกมออนไลน์ 4. ดูทีวีย้อนหลัง 5. เทคนิคการสอนทำปุ๋ย 6. หาข้อมูลยาแผนโบราณ 7. วิธีกำจัดศัตรูพืชในไร่อ้อย 8. การเรียนออนไลน์ 9. โฆษณาสินค้าเพื่อขาย 10. ดูราคาทองคำ 11. หาพิกัดร้านอาหาร 12. สั่งซื้อสินค้า 13. สื่อสารทางไกลผ่านเน็ต 14. หางานทำ 15. ดูดวง 16. เล่นเกมส์